กล่องสีชมพู 1

อุปกรณ์  

  • กล่องสีชมพูบรรจุวัตถุขนาดเล็ก 6 ชิ้น ที่มีชื่อประกอบด้วยพยัญชนะ และสระ 3 ตัว
  • ตัวอักษรขนาดใหญ่ที่หยิบจับได้
  • เสื่อปูพื้น

วัตถุประสงค์      

  • เพื่อฝึกการถอดตัวอักษร และอ่าน
  • เพื่อฝึกฝนการเขียนโดยไม่ต้องใช้ทักษะทางกายภาพ
  • เพื่อเตรียมการสำหรับการอ่านและเขียนในระยะต่อไป

คำศัพท์  

              ตัวอย่างเช่น hat; pig; cup; man; mat; cot.

อายุโดยประมาณ 

              4 ขวบขึ้นไป

การนำเสนอ          

               ครูขอให้เด็กเรียบเรียงตัวอักษรขนาดใหญ่ แล้วจึงแนะนำให้เด็กรู้จักกับกล่องที่อยู่บนชั้นวางของ จากนั้นให้เปิดกล่องสีชมพูแล้วคุยกันว่าในนั้นมีสิ่งใดบ้าง หากเด็กเรียกชื่อผิดให้ครูแก้ไขด้วยการอ่านออกเสียงอย่างถูกต้องให้เด็กฟัง จากนั้น ให้เด็กเลือกวัตถุใดจากในจำนวนทั้งสามสิ่ง จากนั้นให้วางวัตถุดังกล่าวลงข้างๆ กล่องที่บรรจุตัวอักษรขนาดใหญ่ ให้เด็กเรียกชื่อวัตถุชิ้นแรกอีกครั้ง แล้วถามเด็กว่าในคำคำนั้น เด็กได้ยินเสียงใดบ้าง โดยเน้นหนักที่เสียงแรก และให้เด็กหาตัวอักษรที่เป็นตัวแรกของการสะกดชื่อวัตถุนั้นๆ แล้วให้นำตัวอักษรที่เป็นตัวแรกของการสะกดชื่อดังกล่าววางไว้ข้างวัตถุนั้นๆ
               จากนั้นนั้นจึงค้นหาตัวอักษรตัวต่อไป (ตัวอักษรที่อยู่ช่วงกลางจะยากต่อการสังเกตเสียง จึงต้องเน้นการออกเสียงเวลาสะกด เช่น b….a….t เป็นต้น)  หากเด็กเลือกตัวอักษรผิดพลาดอยู่เสมอ ครูอาจให้เด็กลองกลับไปทำแบบฝึกหัดตัวอักษรกระดาษทรายอีกครั้ง นอกจากนั้น ควรระวังเกี่ยวกับการอ่านออกเสียงด้วย เนื่องจากจะนำไปสู่การสะกดคำที่ผิด

แบบฝึกหัด

                เมื่อเด็กสามารถรู้ตัวอักษรในระดับที่ใช้การได้แล้ว เด็กจะสามารถสะกดคำได้รวดเร็ว จึงควรส่งเสริมให้เด็กทำงานอย่างอิสระ

ข้อสังเกต

               ชั้นเรียนควรมีเครื่องมือเพื่อกิจกรรมนี้อย่างหลากหลาย เพื่อให้ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ และเกิดความน่าสนใจ และยังเป็นสิ่งที่ส่งเสริมเด็กในการเรียนรู้คำศัพท์ด้วย อย่างไรก็ดี ครูไม่ควรให้เด็กเป็นผู้เริ่มต้นในการอ่านคำศัพท์ แต่เมื่อเด็กมีความสามารถเพิ่มขึ้น เด็กอาจจะอ่านคำเหล่านั้นด้วยตัวเอง แต่ไม่ควรเป็นกิจกรรมที่มีลักษณะบังคับเด็ก ควรสร้างรายการคำสองรายการที่มีรายคำศัพท์รายการละ 6 ชื่อ ที่มีความเกี่ยวโยงกับตัวอักษรในกล่อง